ระบบสารสนเทศ(Information system)
ระบบสารสนเทศ
(Information System ) หมายถึง
ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์ มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ
หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมุลนั้นกลายเป็นสารสนเทศที่ดี
สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง
ระบบสารสนเทศประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้
1. Hardware หมายถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการจัดกระทำกับข้อมูล ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น
เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข
2. Software หมายถึง ชุดคำสั่ง
หรือเรียกให้เข้าง่ายว่า โปรแกรม ที่สามารถสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะที่ต้องการภายใต้ขอบเขตความสามารถที่เครื่อง คอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมนั้น ๆ สามารถทำได้
ซอร์ฟแวร์แบ่งออกเป็น ซอร์ฟแวร์ระบบ
และ ซอร์ฟแวร์ประยุกต์
3 User หมายถึง
กลุ่มผุ้คนที่ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
4. Data หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็น ตัวหนังสือ แสง สี เสียง สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
ภาพ วัตถุ หรือ หลาย ๆ อย่างผสมผสานกัน
ซึ่งข้อมูลที่ดีจะต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้
5. Procedure หมายถึง ขั้นตอน
กระบวนการต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานในระบบสารสนเทศ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คืออะไร
DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ
การรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกันนอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์
โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง
และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์
เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ
ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้นหลักการของDSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร
ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น
ประเภทของระบบการตัดสินใจ( Decision
Support System : DSS )
แบ่งตามผู้ใช้งานเป็น 2 ประเภท
คือระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลและระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล
ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล
เป็นระบบสารสนเทศที่มีผู้ใช้หรือผู้ตัดสินใจเพียงคนเดียว
ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องมีอำนาจในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศประเภทนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า
ระบบสารสนเทศของผู้บริหาร หรือ (EIS) (Executive Information System ) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา
ศึกษาแนวโน้มของเรื่องที่สนใจ ส่วนใหญ่จะนำเสนอสารสนเทศในรูปแบบของรายงาน
ตารางและกราฟ เพื่อสรุปสารสนเทศให้เข้าใจง่ายและประหยัดเวลา เช่น
บริษัทแห่งหนึ่งต้องการเปิดสาขาเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น
ผู้บริหารจึงนำเข้าข้อมูลต่างๆ ของบริษัทไว้ในฐานข้อมูลของ EIS เพื่อประมวลผลตามแบบจำลองที่สร้างไว้
ลักษณะพิเศษของEIS คือ
ไม่จำเป็นต้องติดตั้งหรือทำงานบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ควรมีประสิทธิภาพสูงเพื่อให้สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ
EIS ในแต่ละซอฟต์แวร์หรือ EIS ของแต่ละบริษัทจะมีประโยชน์และรายละเอียดต่างๆแตกต่างกันตามแบบจำลองเฉพาะงานที่สร้างขึ้น
แต่ EIS ทุกซอฟต์แวร์จะมีประโยชน์โดยรวมเหมือนกันดังนี้
– ช่วยในการตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น
– ช่วยประหยัดเวลาในการสร้างความเข้าใจและตัดสินใจของผู้บริหาร
– สามารถนำสารสนเทศจาก EIS ไปอ้างอิงเพื่อดำเนินการทางธุรกิจได้สะดวกยิ่งขึ้น
สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของ EIS มีรูปแบบที่หลากหลายนับตั้งแต่สิ่งตีพิมพ์ที่แสดงข้อความ
ภาพนิ่ง กราฟและแผนภูมิไปจนถึงมุลติมีเดียที่มีความซับซ้อนขึ้นไป
โดยสารสนเทศทุกรูปแบบต้องมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย
ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่มหรือ
GDSS (group decision support system) เป็นระบบสารสนเทศที่พฒนามาจากระบบสารสนเทศสนบสนุนการตัดสินใจของบุคคลเรื่องจากการทำงานภายในองค์กรมักใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ใช้ที่มีจำนวนมากกว่า
1 คนในการตัดสินใจการแก้ปัญหา
ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือในผลการตัดสินใจนั้น ๆ การนำ GDSS มาใช้ในองค์กรจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะการทำงานจากการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ที่ผู้ใช้คนใดคนหนึ่งมาเก็บรวบรวมไว้ในระบบฐานข้อมูล
บุคลากรทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและส่งเสริมการตัดสินใจขององค์กร
ตัวอย่างการใช้งาน GDSS เช่น บริษัทแห่งหนึ่งต้องการปรับเปลี่ยนเวลาทำงานของพนักงานบริษัท
จึงมีการรวบรวมข้อมูลและความคิดเห็นของพนักงานทุกคนไว้ในฐานข้อมูลของ GDSS เพื่อประมวลผลตามแบบจำลองที่สร้างไว้
จากนั้นผู้บริหารหลาย ๆ ฝ่ายร่วมกันตัดสินใจว่าควรจะดำเนินการอย่างไร
แผนผังแสดงการใช้งาน GDSS เพื่อปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานของพนักงาน
จากแผนผังแสดงการใช้งาน GDSS เพื่อปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานของพนักงานจะเห็นได้ว่าผู้ใช้
GDSS มีจำนานมากกว่า 1 คน ดังนั้น GDSS จึงต้องทำงานบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์และมีอุปกรณ์ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มติดตั้งเพิ่มขึ้นในระบบสารสนเทศ
GDSS ทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้
1. เกิดความร่วมมือกันภายในองค์กรมากยิ่งขึ้น
เนื่องจากทุกคนในองค์กรสามารถแสดงความคิดเห็นหรือนำข้อมูลใน GDSS ได้
2. ลดอคติต่อแหล่งที่มาของข้อมูลและช่วยกระตุ้นความคิดเห็นใหม่
ๆ เนื่องจากผู้แสดงความคิดเห็นผ่านทาง GDSS ไม่จำเป็นต้องแสดงข้อมูลของตนเอง
3. ลดปัญหาความขัดแย้งของข้อมูล
เนื่องจาก GDSS จะรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลเดียวเท่านั้น
ข้อมูลที่นำเสนอไปยังผู้ใช้ทุกคนจึงเป็นข้อมูลเดียวกัน
4. เพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของผลการตัดสินใจ
เนื่องจากเป็นผลการตัดสินใจจากผู้ใช้หลายคน
ปัจจุบันมีการนำ GDSS มาใช้งานอย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น
เช่น การประชุมทางไกล การสอบถามความคิดเห็น การลงคะแนนเสียง
ตัวอย่างโปรแกรม ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
โปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม (DSS)
โครงสร้างของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม (DSS) [5]
1. ตรวจวัดอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ (AWS)
2. การสื่อสารเพื่อรวบรวมข้อมูล ผลการตรวจอากาศและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการคาดหมาย แบ่งย่อยเป็นตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
2.1 ผลการตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ (AWS) ส่งผ่านระบบ GPRS ไปยังคอมพิวเตอร์หลัก (Web Server) โดยที่การตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติจะทำการรายงานทุกๆ 5 นาที
2.2 การวิเคราะห์ผลการตรวจอากาศที่ได้จากขั้นตอนแรกโดยการกำหนดค่าวิกฤตของพารามิเตอร์ทางอุตุนิยมวิทยาแต่ละตัว เพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์ทางอุตุนิยมวิทยา และแสดงเสถียรภาพของบรรยากาศเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดฝนตกหนัก
2.3 การคาดหมายการเปลี่ยนแปลง และการเคลื่อนที่ของตัวระบบลมฟ้าอากาศที่วิเคราะห์ได้ในขั้นตอนที่สอง โดยใช้วิธีทฤษฎีโครงข่ายใยประสาทเทียม (ANN) เป็นเครื่องมือในการพยากรณ์อากาศ
2.4 การออกคำพยากรณ์ช่วงเวลาและบริเวณที่ต้องการ โดยพิจารณาจากตำแหน่งและความรุนแรงของระบบลมฟ้าอากาศที่ได้ดำเนินการไว้แล้ว
3. การส่งคำพยากรณ์อากาศไปยังสื่อมวลชนเพื่อเผยแพร่ต่อไปสู่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย และส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไปตามความเหมาะสม เช่น การป้องกัน และบรรเทาภัยพิบัติ
รูป: หลักการทำงานของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม (DSS) [5]
ลักษณะการทำงานของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม (DSS) ในประเทศไทย
ผลการตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติส่งผ่านระบบ GPRS ไปยังคอมพิวเตอร์หลัก (Web Server) ที่กรุงเทพฯในชื่อว่า weather.nakhonthai.net มีการแสดงผลลัพธ์เป็นทั้งตัวเลข ณ เวลาล่าสุด และเป็นรูปแบบกราฟเส้นในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง 48 ชั่วโมง 72 ชั่วโมงโดยที่การตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติจะทำการรายงานทุกๆ 5 นาที มีการดึงข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Downloader จากเครื่องคอมพิวเตอร์ 3 แหล่งข้อมูล ได้แก่ ดึงข้อมูลผลการตรวจอากาศผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจากhttp://weather.nakhonthai.net/data ดึงข้อมูลดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจากhttp://metocph.nmci.navy.mil/sat/gms_nwtrop/ir/ และดึงข้อมูลเวอร์ทิซิตี้ที่ระดับ 500 เฮกโตปาสคาล ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากระบบพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลขผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจากhttp://www.marine.tmd.go.th/html/rjtd-vorticity/ ข้อมูลต่างๆ ก็จะมาอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในโฟลเดอร์ที่กำหนด หลังจากนั้นในทุกๆ เช้าก็จะมีการใช้โปรแกรม GenDSS ในการจัดเตรียมฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และแสดงผลโดยจะทำการเตรียมฐานข้อมูลแบบ Last day สำหรับข้อมูลในอดีตในส่วนข้อมูลปัจจุบันจะใช้ป้าย Today เพื่อป้อนให้กับโปรแกรม DSS ในการประมวลผลต่อไป
รูป: โปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม